วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

แหล่งท่องเที่ยวต่างจังหวัด พระธาตุพนม@นครพนม

พระธาตุพนม@นครพนม


    ผมได้มีโอกาสหลายครั้ง ในการไปกราบพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นสถานที่สวยงามมากซึ่งหลายๆท่านคงได้มีโอกาสไปบ้างแล้ว แต่หากคนที่ยังไม่เคยไปผมจะรีวิวให้ท่านได้ชมไปพลางๆก่อนสถานที่จริงนะครับ

     วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม

   ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน ในพระธาตุพนม บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง
พ.ศ. 2223-2225 และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน
พ.ศ. 2233  พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) ปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น
พ.ศ. 2483  รัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้น
พ.ศ. 2518  องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม
พ.ศ. 2522  การบูรณะโดยภาครัฐและเอกชน
เมื่อปี พ.ศ. 2485  วัดพระธาตุพนมฯ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร" ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น. ด้วยเหตุที่มีฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวันและความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ พระธาตุพนมจึงได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 นอกจากจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุดั่งเดิมแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นบรรจุและประดับไว้ในองค์พระธาตุอีกด้วย โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 110 กิโลกรัม

ท่านได้รับทราบถึงประวัติแล้ว ต่อไปจะเป็นการให้ชมภาพเพื่อเรียกน้ำย่อยคนที่ยังไม่ไปนะครับ




และก็มีวิดิทัศน์ให้ท่านได้ชม



เห็นแล้วไปเยี่ยมชมบ้างนะครับ
ขอบคุณครับ




มหาเจดีย์ชัยมงคล@ร้อยเอ็ด

แหล่งท่องเที่ยวบ้านเกิดผม มหาเจดีย์ชัยมงคล@ร้อยเอ็ด


ผมเกิดที่ อ.หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ดครับ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเลยเอามารีวิวให้ทุกท่านได้ดู เผื่อบางท่านได้มีโอกาศได้ไป


            พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ80 ก.ม มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์

ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลายไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ชั้นที่ 6 และ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆังและยอดฉัตร


ประวัติ
            ท่านหลวงปู่ศรี  มหาวีโร (พระเทพวิสุทธิมงคล)  เป็นผู้นำพาบรรดาศิษยานุศิษย์  พุทธศาสนิกชนสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคลบนภูเขาเขียว วัดพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตำบลผาน้ำย้อย   อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด ทางตะวันออกเฉียงเหนือ  ห่างจากบึงพลาญชัยประมาณ 90   กิโลเมตร
            เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2528  ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู อันเป็นวันรวม บุญกฐินสามัคคีที่วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ  จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันนั้น      
ท่านหลวงปู่ศรี ได้ปรารภกับบรรดาศิษยานุศิษย์ว่า ท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุเป็นกรณีพิเศษ  ตลอดจนทั้งครูบาอาจารย์สายอีสาน ผู้เป็นนักปราชญ์  ปฏิบัติดี  ปฏิบัติชอบ  
ระดับสัมมาปฏิบัติ  ท่านเหล่านี้ได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองและพระพุทธศาสนามามาก  สมควรก่อสร้างถาวรวัตถุสำหรับลบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นกรณีพิเศษในสถานที่อันเป็นศูนย์กลางเพื่อความสะดวกแก่ผู้มาสักการะ  ศึกษาบูชาสืบไป  ที่ประชุมเห็นชอบสมควรก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคลขึ้น
             ได้นำมติเข้าที่ประชุมพระสังฆาธิการ ภาค 8 , 9 , 10 และ 11 (ธรรมบุตร) ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมโดยมีท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหามุณีวงศ์
เป็นประธานและดำเนินการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ขนาดกว้าง 101 เมตร  ยาว 101 เมตร  สูง 109 เมตร เป็นศิลปอีสาน ผสมภาคกลาง  ออกแบบโดยกรมศิลปากร เพื่อเป็นมรดก
ของชาติของแผ่นดินและเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
                ปีพุทธศักราช 2531  สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก ได้มีบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างและวางศิลาฤกษ์  เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2531  มีการยกฉัตรทองคำหนัก 4,750 บาท ประมาณ 60 กิโลกรัม คิดเป็นเงินมูลค่า 23,750,000 บาท  ดดยมีสมเด็จพระมหามุณีวงศ์  เจ้าคณะภาค 8 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  มีฯพณฯ พลตรีศรชัย  มนตริวัต  รัฐมนตรีช่วงว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายฆราวาส





อย่าลืมไปชมกันนะคับ